สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ขอแสดงความยินดีกับ คุณเบญจมาศ เทวดวีระพงศ์ บรรณารักษ์ สังกัดหอสมุดกลาง สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มรส. ในโอกาสได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ…
ผอ.สำนักวิทยบริการฯ ร่วมงานสัมมนาวิชาการ Robotics Summit 2018
ระหว่างวันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2561 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา น้อยดอนไพร ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการ Robotics Summit 2018 ณ อาคารศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ห้องวายุภักษ์ 5-7 ชั้น 5 โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
โดยปัจจุบัน โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคโรโบติกส์ และระบบอัตโนมัติที่จะเข้ามามีบทบาทในการทำงานแทนมนุษย์ การพัฒนาด้านหุ่นยนต์หรือโรโบติกส์พัฒนาอย่างก้าวกระโดดเป็นอย่างมากในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา จากแขนกลที่คุ้นตาในโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกับอุตสาหกรรมรถยนต์กลายเป็นของตกยุตในทันที เมื่อแขนกลรุ่นใหม่ไม่ได้มีความสามารถแค่ทำงานหยิบจับตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ แต่เป็นแขนกลฝังระบบเอไอ AI (Artificial Intelligence) ที่สามารถคิดหาช่องทางในการทำงานและแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง ไม่ต่างกับการทำงานของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของภาคอุตสาหกรรม ทางโรงงานก็มีการนำเอาเครื่งจักร ไม่ว่าจะเป็นแขนกลหนัก เข้ามาทำงานแทนตำแหน่งงานต่างๆ ในโรงงานที่ต้องใช้ความแม่นยำ รวดเร็ว และเพิ่มกำลังการผลิต ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้มีการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การพัฒนาของเทคโนโลยี สภาพสังคมและการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องแข่งขันมากขึ้น เจ้าของธุรกิจต้องหาวิธีลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จึงได้นำนวัตกรรมโรโบติกส์และระบบอัตโนมัติมาใช้งานมากขึ้น ไม่เพียงแค่การทำงานในโรงงาน แต่ภายในองค์กนบริษัทใยทุกกลุ่มธุรกิจ ก็มีการนำมาปรับใช้เช่นกัน การพีฒนาและประยุกต์ด้าน IoT (Internet of Things) จะเป็นแนวโน้มแห่งโลกอนาคต ซึ่งอุปกรณ์การใช้งานแทบทุกชนิดจะมีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตและมีระบบเอไอมาช่วยดูแล
ทางสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยรสารสนเทศไทย ATCI ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของแนวโน้มดิจิทัลเทคโนโลยีที่กำลังมุ่งหน้าไป ทำอย่างไร ที่จะให้การประยุกต์ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และหากเป็นไปได้ ควรจัดมีการสนับสนุนให้เกิดการคิดค้นผลิตนวัตกรรมเหล่านี้ขึ้นมา เพื่อลดการพึ่งพิงจากต่างประเทศ จึงเกิดแนวคิดในการดำเนินโครงการ Robotics Summit โดยหวังให้โครงการนี้จะทำให้ทุกภาคส่วนตื่นตัวกับกระแสเทคโนโลยี การเพิ่มประสิทธิภาพในการนำไปใช้ และร่วมมือกันผลิตบคลากรให้มีประสิทธิภาพ เพื่อมารองรับกับการพีฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้เทียบเท่ากับนานาประเทศ เกิดความร่วมมือและพัฒนาทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เพื่อให้เกิดการต่อยอดแบบบูรณาการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในเชิงเศรษฐกิจและตอบโจทย์การพัฒนาประทศในอนาคต