Skip to content

(ร่าง)นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พ.ศ.๒๕๖๑

ร่าง นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พ.ศ.๒๕๖๑ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ขึ้นเพื่อให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีแนวทางปฏิบัติในการควบคุมการปฏิบัติงาน และรักษาความปลอดภัยด้านระบบสารสนเทศ และเพื่อให้สอดคล้องตามพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549 ซึ่งประกอบด้วยแนวนโยบายและแนวปฏิบัติต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปฏิบัติงานต้องถือปฏิบัติเพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยในการขับเคลื่อนพันธกิจ และการให้บริการต่างๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับมหาวิทยาลัยต่อไป ดาวน์โหลดเอกสาร : ร่าง นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พ.ศ.๒๕๖๑ [PDF File]

Read more

พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549

  พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549 เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการกำหนดหลักเกณฑ์ให้การดำเนินงานใด ๆ ที่เกี่ยวกับคำขอ การอนุญาต คำสั่งทางปกครอง การชำระเงิน หรือการดำเนินงานต่าง ๆ ตามกฎหมายกับหน่วยงานของรัฐ หรือโดยหน่วยงานของรัฐ ถ้าได้กระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาฯ กำหนด ให้ถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมาย ดาวน์โหลดเอกสาร : พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549 [PDF File]

Read more
Back To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save